วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด)


การเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด)
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีพของคนทั่วโลกและอาจเรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยก็ว่าได้ คอมพิวเตอร์ถือ เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการขนานนามให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางเทคโนโลยีเลยทีเดียว อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิดผ่านการสรรค์สร้างจากมันสมองอันชาญ ฉลาดของมนุษย์เพื่อให้ได้มาซึ่ง เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดและที่สำคัญที่สุดคือตอบสนองความต้องการของมนุษย์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญและถือเป็นตัวกลาง ที่เชื่อมต่อการทำงานกับอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ภายใน คอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นคือ Mainboard (เมนบอร์ด)

Mainboard (เมนบอร์ด) หนึ่งในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถือว่าเป็นเหมือนฐานรากหลักของระบบการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะมันจะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยงตรง ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานโดยผ่านทาง Mainboard (เมนบอร์ด) ทั้งสิ้น

Mainboard (เมนบอร์ด) ที่คุณเห็นวางจำหน่ายตามศูนย์การค้าหรือร้านค้าอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ถูกนำเข้าโดยบริษัทจัดจำหน่ายทั่วไปที่มีการเซ็นสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ผลิตภัณฑ์ Mainboard (เมนบอร์ด) ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น Mainboard (เมนบอร์ด) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซี ในส่วนของ Mainboard (เมนบอร์ด) สำหรับโน้ตบุ๊กและเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นยังมีให้เห็นกันไม่มากนัก สำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีนั้นส่วนใหญ่จะแบ่งแยกตามการรองรับโพรเซสเซอร์ที่มีวางจำหน่ายจากทางค่าย Intel และ AMD โดยแบ่งออกเป็น ซ็อกเก็ต A (462), ซ็อกเก็ต 478, ซ็อกเก็ต 754 และล่าสุดกับแพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังได้รับการจับตามองของผู้ใช้งานทุกกลุ่มและเป็นนิยมกันอยู่ในขณะนี้คงหนีไม่พ้นซ็อกเก็ต 775 และ ซ็อกเก็ต 939 ซึ่งยังคงได้รับการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องภายใต้ผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นยักใหญ่ระดับหัวแถวแห่งวงการ Mainboard (เมนบอร์ด) ของโลกอาทิ ASUS, GIGBYTE, MSI, DFI, ABIT, ASROCK ฯลฯ

เมื่อเรามองดู Mainboard (เมนบอร์ด) ตามลักษณะทางกายภาพจะพบว่า Mainboard (เมนบอร์ด) มีลักษณะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่มีชิปเซต ตัวต้านทานต่าง ๆ และอะไรต่ออะไรมากมาย (ฮือ...ไม่รู้ซักกะอย่าง) เอาเป็นว่าองค์ประกอบหลักของ Mainboard (เมนบอร์ด) ทั่วไปนั้นทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำคัญดังนี้

โพรเซสเซอร์ (Processor)
หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกกันติดปากว่า "ซีพียู" นั่นเอง ถือเป็นสมองของคอมพิวเตอร์เพราะทำหน้าที่ประมวลผลต่างๆ โดยปัจจุบันซีพียูที่ได้รับความนิยมมากในบ้านเราก็คง หนีไม่พ้นค่าย Intel และ AMD โดยซีพียูของ Intel รองรับการทำงานบนแพลตฟอร์ม 775 (Pentium4 Prescott / Extreme Edition / Pentium D / Pentium Extreme Edition / Celeron D Prescott ) และ 478 (Pentium4 / Celeron Northwood) ส่วนทางด้าน AMD จะรองรับการทำงานบนแพลตฟอร์ม 939 (Athlon64 FX / Athlon64 ), 754 (Athlon64 / Sempron) และ 462 หรือ Socket A (AthlonXP / Sempron / Duron) ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ทางเอเอ็มดีจะผลักดันซีพียูที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม 462 ให้ไปเป็น 754 ทั้งหมด

หน่วยความจำ (Memory)
Random Access Memory หรือที่เรารู้จักกันนาม Ram ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วยไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือเก็บข้อมูลเมื่อเปิดเครื่องและข้อมูลจะหายเมื่อปิดเครื่อง (เข้าใจแล้วใช่ไหม..??) โดยหน่วยความจำหลักที่ใช้รองรับการทำงานของระบบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น หน่วยความจำแบบ SDRAM , DDR SDRAM , RDRAM และล่าสุดกับหน่วยความจำแบบ DDR2 ซึ่งขนาดความจุที่ใช้รองรับอยู่ระหว่าง 128MB ไปจนถึงความจุที่มากถึงระดับกิกะไบต์(GB) เลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าใน Mainboard (เมนบอร์ด) รุ่นใหม่ ๆ จะสนับสนุนการทำงาน ของหน่วยความจำหลักแบบ Dual Channel ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มค่าแบนวิดท์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วรวมถึงรองรับขนาดความจุได้มากถึง 8.5 GB เลยทีเดียว

ชิปเซต (Chipset)
ชิปเซตบน Mainboard (เมนบอร์ด) ทำหน้าที่สนับสนุนและบริหารจัดการภายในระบบการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ในการทำหน้าที่ทั้งระบบการประมวลผลกลาง หน่วยความจำ การประมวลภาพทางกราฟิก รวมไปถึงภายใต้เทคโนโลยีที่ได้รับการบรรจุมาพร้อมกับตัวชิปเซตและคอนโทรลเลอร์ อาทิ Serial ATA , IEEE1394, USB 2.0, ระบบเสียง, ระบบเครือข่าย ซึ่งทั้งหมดจะถูกบริหารจัดการโดยแบ่งการรองรับออกเป็น 2 ส่วนนั่นคือ นอร์ธบริดจ์ (NorthBridge) และ เซาธ์บริดจ์ (SouthBridge)

AGP และ PCI Express
ตัวประมวลผลภาพผ่านทางจอมอนิเตอร์ที่รองรับการทำงานร่วมกับชิปเซต หน่วยความจำ และ Direct X โดยชิปเซตที่ได้รับความนิยมก็เช่น NVIDIA, Intel, VIA, SiS หรือน้องใหม่อย่าง ATI โดยปัจจุบันการอินเทอร์เฟสกราฟิกการ์ดได้มีการพัฒนาในเรื่องของประสิทธิภาพในการประมวลผลรวมไปถึงความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลให้สูงขึ้นจนทำให้เกิดเทคโนโลยีสำหรับกราฟิกที่มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์แบบล่าสุดภายใต้ชื่อ PCI ExpressX16 กับคุณสมบัติที่จะทำให้การทำงานด้านกราฟิกเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วยอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่สูงถึง 4GBps นอกจากนั้นประสิทธิภาพของเทคโนโลยี PCI Express ยังได้รับการสนับสนุนความสามารถในการประมวลผลภาพไปอีกขั้นกับเทคโนโลยี SLI เทคโนโลยีที่นำเอากราฟิกการ์ด 2 ตัว ทำงานบนช่องสัญญาณ PCI-Express 16X ที่เชื่อมต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ SLI Bridge มาทำการประมวลผลภาพ โดยจะได้ประสิทธิภาพในการประมวลผลภาพและการเรนเดอร์ภาพเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ในการทำงานบนในส่วน PCI ก็กำลังจะถูกแทนที่ด้วย PCI Express ด้วยประสิทธิภาพในเรื่องของความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล รวมไปถึงการทำงานที่แยกความเป็นอิสระต่อกันทำให้สามารถทำงานบนค่าแบนวิดท์ในระดับสูงได้พร้อมกัน

ระบบเสียง (Sound Onboard)
ระบบเสียงอาจจะไม่สำคัญเท่าอุปกรณ์อื่น ๆ แต่คุณไม่ควรมองข้ามเพราะอย่างน้อยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อการ์ดเสียงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน คุณภาพของระบบเสียงที่มาพร้อมกับ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้นได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเห็นได้จาก บาง Mainboard (เมนบอร์ด) มีการนำเทคโนโลยี DOLBY SURROUND ซึ่งเป็นเทคโนโลยีคุณภาพเสียงโดยเฉพาะ ร่วมกับการทำงานกับลำโพงแบบหลายทิศทาง ซึ่งปัจจุบันรองรับอยู่ที่ 8 ทิศทาง และเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลง และรับชมภาพยนตร์ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ใน Mainboard (เมนบอร์ด) ระดับสูงยังสนับสนุนช่องสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล ผ่านช่องสัญญาณ S/PDIF แบบ Optical และ Coaxail

ระบบเครือข่าย (LAN)
ถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้ใช้งานที่ทำงานภายใต้รูปแบบขององค์กร ซึ่งต้องทำการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายกลางรวมไปถึงโอน-ถ่ายข้อมูลภายในองค์กร ซึ่ง Mainboard (เมนบอร์ด) ที่มีวางจำหน่ายอยู่ในขณะนี้เกือบทุกรุ่นจะรองรับช่องสัญญาณในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายด้วยมาตรฐานความเร็วที่ 10/100 Mbps รวมไปถึงใน Mainboard (เมนบอร์ด) ประสิทธิภาพสูงจะรองรับความเร็วระดับกิกะบิต 1,000 Gbps ซึ่งอาจจะมาในแบบคู่ และการเชื่อต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wiless LAN)

คอนเน็กเตอร์และพอร์ต (Connector & Port)
เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ Mainboard (เมนบอร์ด) ทุกตัวจะต้องมีไว้รองรับการทำงาน โดยอาจจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่ผู้ผลิตนำมาให้ไว้ในแต่ละรุ่น คอนเน็กเตอร์และพอร์ตต่าง ๆ ถูกจำแนกออกเป็น 2 ส่วนนั่นก็คือ Internal ซึ่งเป็นพอร์ตรองรับที่ต้องเชื่อมต่อภายในตัว Mainboard (เมนบอร์ด) อาทิ USB, และ Back Panel ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกซึ่งประกอบไปด้วยพอร์ต PS/2, USB, Parallel, Serial Port, Audio, LAN มีไว้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับช่องสัญญาณดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น เมาส์ คีย์บอร์ด ลำโพง พรินเตอร์ ฯลฯ หรือใน Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะเพิ่มช่องสัญญาณ VGA เมื่อ Mainboard (เมนบอร์ด) สนับสนุนการประมวลผลภาพในตัว รวมไปถึงใน Mainboard (เมนบอร์ด) ประสิทธิภาพสูงจะมาพร้อมกับช่องสัญญาณ S/PDIF และ IEEE 1394

Mainboard (เมนบอร์ด) ที่ทางผู้ผลิตได้พัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาในแต่ละรุ่นนั้นมีการนำเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับ Mainboard (เมนบอร์ด) พร้อมทั้งลดข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ อาทิเช่น

เทคโนโลยี Hyper Threading
Hyper Threading (HT) หนึ่งในเทคโนโลยีของทาง Intel เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มสมรรถนะให้กับผู้ใช้งาน โดยที่ซอฟต์แวร์จะมองเห็นโพรเซสเซอร์เพนเทียมโฟร์หนึ่งตัว เป็นโพรเซสเซอร์สองตัว โดยอาศัยช่วงสัญญาณนาฬิกาที่เคยว่าอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เทคโนโลยี Hyper Threading ทำให้โพรเซสเซอร์ดังกล่าว สามารถทำงานที่แบ่งออกเป็นสองงานพร้อมกันได้ แทนที่จะทำงานได้เพียงทีละงาน ซึ่งจากมุมมองของตัวซอฟต์แวร์ สิ่งนี้หมายถึงระบบปฏิบัติการและโปรแกรม ของผู้ใช้ จะสามารถจัดลำดับการประมวลโพรเซสเซอร์ หรืองานบนโพรเซสเซอร์ได้ เสมือนกระทำบนระบบมัลติโพรเซสเซอร์ของจริง ประโยชน์จากเทคโนโลยี Hyper Threading ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือเมื่อโพรเซสเซอร์ตัวหนึ่งเกิดการหยุดชะงัก โพรเซสเซอร์อีกตัวที่เหลือจะยังทำงานต่อไปได้

เทคโนโลยี Hyper Transport
เทคโนโลยีอัจฉริยะของทาง AMD ในการจัดสรรการเชื่อมต่อข้อมูลในระบบการทำงานหลักความเร็วสูงของเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปและเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งส่งผลทำให้การประมวลผลและเข้าถึงข้อมูล ผ่านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เป็นไปได้รวดเร็วกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันพร้อมทั้งช่วยเพิ่มค่า Band width ให้สูงขึ้นส่งผลให้สามารถลดปัญหาการเกิดคอขวดในการส่งถ่ายข้อมูล อีกทั้งยังใช้งานหน่วยความจำของระบบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมากขึ้นด้วย

เทคโนโลยี Serial ATA
หนึ่งในเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลผ่านสายเคเบิล ATA สำหรับลำเลียงข้อมูลขนาดกว้าง 2 นิ้ว ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้น เมื่อความเร็วในการส่ง ผ่านข้อมูลปัจจุบันในรูปแบบของ IDE สูงสุดอยู่ที่ 133 MBต่อวินาที ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ) แบบใหม่ คือ Serial ATA ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการอินเทอร์เฟซแบบ Serial ATA ที่มีความเร็วในการลำเลียงข้อมูลที่ระดับ 150 MBps และ ปัจจุบันไดรับการพัฒนาความเร็วมาอยู่ที่ 300MBps ภายใต้รหัส Serail ATA 2 และในอนาคตอันใกล้นี้กำลังจะถูกพัฒนาในเรื่องของความเร็วเพิ่มขึ้นไปเป็น 600 MBps ด้วย เทคโนโลยี Serial ATA นี้ไม่ได้ถูกพัฒนามาเพื่อการรองรับกับฮาร์ดดิสก์เท่านั้น แต่รวมไปถึงอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ อย่าง Optical Drive ต่าง ๆ ทั้ง CD-ROM และ DVD-ROM อีกด้วย ซึ่งด้วยการพัฒนาของ Serial ATA นี้เอง ที่จะทำให้ลดปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านของโพรเซสเซอร์ความเร็วสูง กับตัวฮาร์ดดิสก์ ให้รื่นไหล ด้วยความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเหตุนั้น Serial ATA จึงกลายเป็นความหวังใหม่ ในการเพิ่มความเร็วในการ ถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์ในอนาคต

เทคโนโลยี IEEE 1394
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เกี่ยวกับด้านมัลติมีเดียกับเครื่องพีซี ที่มีอัตราความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมัลติมีเดียความเร็วสูงที่ 400 เมกะบิต (Mbps)และปัจจุบันได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้นด้วยอัตราความเร็วอยู่ที่ 800 เมกะบิต (Mbps) ที่ห้อยท้ายมากับรหัส "b" (IEEE 1394b) โดยการทำงานของ เทคโนโลยีนี้ในการส่งผ่านข้อมูลจะแตกต่างไปจากระบบการเชื่อมต่อแบบเดิม อย่างเช่น เครื่องเสียงที่ใช้ในบ้าน สายสัญญาณเสียง จะเป็นสายเฉพาะสำหรับเสียง เท่านั้น และเมื่อมีระบบภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง สายสัญญาณและจุดต่อเชื่อมจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจนแต่ในส่วนระบบดิจิตอล สัญญาณทุกรูปแบบถูกเปลี่ยนไปเป็นข้อมูลแล้ว การต่อเชื่อมของอุปกรณ์เหล่าจะ สามารถใช้สายสัญญาณเส้นเดียวที่ทำหน้าที่ในการรับ-ส่งสัญญาณที่เป็นข้อมูล และการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ไปพร้อมกันอีกด้วย ทิศทางของ IEEE-1394 คงไม่ใช่แค่การต่อเชื่อมกับกล้องวีดิโอเท่านั้น แต่มันหมายถึงรูปแบบของระบบเครือข่ายข้อมูลของอุปกรณ์สื่อบันเทิง ทั้งหลายที่มีใช้ในบ้าน ที่กำลังถูกจัดให้เข้าสู่มาตรฐานนี้ ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลคอมพิวเตอร์ วีดีทัศน์ เสียง โทรศัพท์ โทรสาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ทั้งหลาย กำลังจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายขึ้น และจากความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าหากันโดยไม่ต้องปิดเครื่อง จะทำให้ผู้ใช้ ลดความกังวลว่าเครื่องจะเสีย หรือกลัวไฟฟ้าลัดวงจรและความยุ่งยาก สิ่งเหล่านี้จะหายไป และอุปกรณ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้ ก็จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้ใช้งานคนมากขึ้น ...

เทคโนโลยี USB 2.0
เมื่อพูดถึง Universal Serial Bus หลายคนคงไม่ค่อยคุ้นนักกับคำนี้แต่ถ้าเป็น USB หลายคนต้องร้องอ๋อ...กันเลย เทคโนโลยี USB เป็นพอร์ตที่มากับ Mainboard (เมนบอร์ด) เพื่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆเข้ากับเครื่องพีซีของคุณ โดยพอร์ต USB 2.0 มีอัตราของการรับ-ส่งข้อมูลที่ 480 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งมากกว่า USB เวอร์ชัน 1.1 ที่ให้อัตราส่งข้อมูลเพียง 12 เมกะบิตต่อวินาที ถึง 40 เท่าเลยครับ และด้วยแบนด์วิดท์ขนาดนี้ จึงเพียงพอสำหรับการเล่นวิดีโอที่ยังไม่บีบขนาดที่อัตรา 30 เฟรมต่อวินาทีได้เลยทีเดียว เทคโนโลยี USB 2.0 ยังเพิ่มความพอใจของคุณมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้งานที่ง่าย และคุณสมบัติที่โดดเด่นนั่นก็ คือเมื่อเสียบแล้ว สามารถทำงานได้ทันที อีกทั้งรองรับการทำงานของ USB 1.1 อีกด้วย ซึ่ง USB 2.0 เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ อันรวมไปถึงอุปกรณ์สำหรับเก็บ ข้อมูลชนิดที่ต่อภายนอกอย่าง กล้องถ่ายรูปดิจิตอล กล้องวิดีโอ พรินเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด หรือแม้แต่อุปกรณ์เครือข่ายด้านเน็ตเวิร์ค ปัจจุบันเทคโนโลยี USB 2.0 บน Mainboard (เมนบอร์ด) สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 10 พอร์ตเลยทีเดียว

เทคโนโลยี RAID (Redundant Array of Independent Disks)
คำว่า RAID หรือ Redundant Array of Inexpensive Disks หรือการนำเอาฮาร์ดดิสก์หลายๆ ตัวมาเชื่อต่อกันผ่านตัวController เพื่อจุดประสงค์ ในการเพิ่มความจุ หรือความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยี RAID มีให้เห็นตั้งแต่ RAID 0, RAID 1 ไปจนถึง RAID 53 กันเลยทีเดียว แต่ใน Mainboard (เมนบอร์ด) ทั่วไปส่วนใหญ่สามารถแบ่งการทำงานออกเป็นสองระดับ ได้แก่ RAID 0, 1 และ RAID 0+1 โดย RAID 0 จะเป็นการแตกข้อมูลออกเป็นบล็อก ๆ และ เขียนลงฮาร์ดไดรฟ์กระจายไปทั้งสองไดรฟ์ (Striping) ซึ่งจะไปช่วยเร่งความเร็วในการเข้าถึงฮาร์ดไดรฟ์และส่งผ่านไฟล์ นอกเหนือไปจากการเร่งกระบวนการเปิด ไฟล์และแอพพลิเคชั่น ส่วนของทาง RAID 1 จะทำการป้องกันการสูญหาย ของข้อมูลโดยการเก็บสำเนาบนฮาร์ดไดรฟ์ทั้งสองตัว (Mirroring) ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ น่าเชื่อถือมากสำหรับการเก็บข้อมูลและแอพพลิเคชั่นที่มีความสำคัญและเนื่องจากเทคโนโลยี RAID มีโอเวอร์เฮดที่น้อยกว่าเทคโนโลยีเชื่อมต่อดิสก์ ATA แบบขนาน จึงทำให้ Serial ATA (S-ATA) สามารถอ่านไฟล์จากดิสก์ที่แคชในโหมด Burst เร็วขึ้นกว่า ATA 100 ซึ่งส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลของแคชได้เร็วขึ้น ในส่วน ของแอพพลิเคชันเชิงธุรกิจได้รับสมรรถนะของระบบที่ดีขึ้นพร้อมทั้งสแกนไวรัสได้อย่างต่อเนื่องและสามารถแก้ไขและเรียกดู พรีเซนเทชันหลาย ๆ ชุด พร้อมกันได้ อีกทั้งระบบแชร์ไฟล์ที่มีสมรรถนะในการทำงานที่ดีขึ้น ตลอดจนสามารถอัพโหลดหรือดาวน์โหลดภาพดิจิตอลพร้อมกันได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย และด้วยความสามารถของชิปเซตตัวใหม่ ๆ ที่สนับสนุนการทำงานอยู่บน Mainboard (เมนบอร์ด) ได้บรรจุความสามารถในการทำงานแบบ RAID ในโหมด 5, 6 และ 10 เพิ่มเติมเข้ามา

เทคโนโลยี BIOS (Basic input output System)
BIOS เป็นส่วนสำคัญสำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) มากทีเดียวโดยเราสามารถปรับแต่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามระบบที่ผู้ใช้งานต้องการในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การปรับการใช้งานของเทคโนโลยีหรือฟังก์ชันต่าง ๆ การเปิดระบบการทำงานของช่องสัญญาณ การปรับมาตรฐานของปฏิทินและเวลา ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปรับตั้งค่าการทำงานของ AGP ให้เป็นแบบ 4X/8X การปรับค่าการบูทเครื่อง ปรับรวมถึงการโอเวอร์คล็อก(overclock) ซีพียูและหน่วยความจำ แต่ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยปรับแต่งค่าต่าง ๆ ที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงใน BIOS บนระบบปฏิบัติการ ได้เลยโดยไม่ต้องทำการ Restart ก่อนจะเข้าไปแก้ไขในส่วนของ BIOS เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำไม่ว่าจะเป็น ASUS และ ABIT ได้พัฒนาเทคโนโลยีชนิด นี้ที่ใช้ชื่อว่า EZ BIOS FLASH และ FLASH MENU เป็นต้น โดย BIOS ที่ได้รับความไว้ใจจากผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำอาทิ Award, AMI และ Phonix

เทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ
นอกจากเทคโนโลยีที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) แต่ละแบรนด์เนมพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับประสิทธิภาพการทำงานของผลิตภัณฑ์ในแต่ละรุ่นของตนเองเป็นหลัก อาทิเช่น เทคโนโลยี C.P.R. (CPU Parameter Recall) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในกรณีที่คุณทำการ โอเวอร์คล็อก แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดการแฮงก์ขึ้มาเมื่อทำการรีสตาร์ท BIOS จะทำการ เคลียร์ค่าต่างที่ถูกปรับแต่งขึ้นให้มาอยู่ในลักษณะเดิม หรือว่าเทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนภาษาในปรับค่าการใช้งานต่าง ๆ ภายในส่วนของ BIOS และทั้งหมดนี้เป็น เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของ Mainboard (เมนบอร์ด) กับอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ

การรับประกัน
Mainboard (เมนบอร์ด) ถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการใช้งานแต่อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่า Mainboard (เมนบอร์ด) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อ Mainboard (เมนบอร์ด) เกิดการเสียหายขึ้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อก็หยุดการทำงานไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเข้ากับ Mainboard (เมนบอร์ด) ควรให้ความ ระมัดระวังกันสักนิด สาเหตุเหตุหลักของการทำให้ Mainboard (เมนบอร์ด) เสียหายนั้นเกิดขึ้นได้หลายกรณีแต่ที่เห็นกันบ่อยมากนั้นคงหน ีไม่พ้นการที่ผู้ใช้ทำการดัดแปลงการ ทำงานของ Mainboard (เมนบอร์ด) ในส่วนต่าง ๆและการ โอเวอร์คล็อก จนทำให้ Mainboard (เมนบอร์ด) เสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้แล้วทางผู้ผลิตถือ ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจาก ผู้บริโภคไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต รับรองรองได้ว่ากระปุกออมสินของคุณต้องถูกทุบเพื่อนำมาซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ตัวใหม่แน่นอน การรับประกัน Mainboard (เมนบอร์ด) ส่วนใหญ่จะรับประกันผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3 ปีเท่านั้นครับ

การเลือกซื้อ
ปัจจัยการเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่คุณต้องการนำมาใช้งานเป็นหลักโดยส่วนที่สำคัญมากในการ เลือก Mainboard (เมนบอร์ด) นั่นก็คือ ซีพียูนั่นเองครับ ยกตัวอย่างถ้าคุณต้องการใช้งานซีพียูของทางค่าย AMD ไม่ว่าจะเป็น Athlon XPหรือ Duron ก็ตามคุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่รองรับการ ทำงานของซีพียูที่เป็นแบบ Socket A หลังจากนั้นก็เป็นในส่วนของหน่วยความจำว่าจะเลือกใช้แบบไหน DDR-SDRAMหรือ SDRAM ( DDR SDRAM เพื่ออนาคตที่สดใสกว่า)หรืออาจจะใช้ทั้ง DDR-SDRAM และ SDRAM ก็ได้คุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความแบบดังกล่าว เป็นต้น ใน Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะนำระบบเสียงหรือระบบประมวลผลภาพ(VGA)ไว้ในตัว ดังนั้น คุณอาจไม่จำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้ ในขณะที่ Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นก็จะรวมเอา LAN (local area network) ไว้ในตัวด้วย ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดเน็ตเวิร์กสำหรับใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต (เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีงบซื้อจำกัด) แต่ถ้าใน Mainboard (เมนบอร์ด) ที่คุณเลือกซื้อไม่มีอุปกรณ์ดังที่กล่าวในตัว คุณก็จำต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นทีหลัง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ราคาแล้วบางทีก็แพงกว่าการซื้อแบบรวมเสียอีกแต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับอุปกรณ์ที่แยกชิ้นประกอบอย่างไรก็ตามเมื่อจะ ซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ของคุณแล้วก็ต้องดูให้ระเอียดกันหน่อย อย่านิยมเลือกเอาแต่ประหยัดอย่างเดียว การใช้งานคอมพิวเตอร์สำคัญที่สุด

ถึงแม้ Mainboard (เมนบอร์ด) จะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญ แต่ราคาของ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้นไม่ได้มีราคาแพงมากมายนักรวมถึงยังมีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นตามความเหมาะสมของผู้ใช้ โดย Mainboard (เมนบอร์ด) ราคาประหยัดเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท และไต่ระดับไปถึงช่วงราคาสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระดับกลางที่ 3,000-5,000 บาท หลังจากนั้นถือเป็นราคาสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่ราคาสูงทะลุหมื่นบาทไปเลยทีเดียว โดยบริษัทผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ที่ได้รับความนิยม หรือพูดง่ายๆ ก็คือแบรนด์เนมของ Mainboard (เมนบอร์ด) ติดตลาดผู้ซื้อ ก็เห็นจะมี ASUS, ABIT, GIGABYTE , MSI, ASROCK
คุณสมบัติที่สำคัญของ Mainboard (เมนบอร์ด) ในปัจจุบันที่ต้องพิจารณาก่อนทำการเลือกซื้อนั้นนอกเหนือจากราคาที่ผู้ใช้ต้องเป็นผู้กำหนด อาทิ ความยืดหยุ่นในการรองรับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงาน ช่องสัญญาณในการรองรับการใช้งาน อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับตัว Mainboard (เมนบอร์ด) ทางที่ดีควรจะมีเอาไว้ก่อน และที่สำคัญนั้นก็คือการรับประกันที่คุณมิควรมองข้ามนั่นเอง

credit : http://www.buycoms.com

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

สุดยอดนวัตกรรมใหม่ ของ GIGABYTE


Untitled

GIGABYTE TECHNOLGY Co. Ltd., ผู้ผลิตอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมเมนบอร์ด และกราฟิกการ์ดระดับโลก ประกาศเปิดตัวสุดยอดเมนบอร์ดเพื่อการโอเวอร์คล็อกในรุ่น Z77X-UP7, นี่คือจุดเริ่มต้นของตำนาน และงานออกแบบภาคจ่ายไฟที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม ภายใต้นิยามของเทคโนโลยี Ultra Durable™ 5 ซึ่งประกอบไปด้วยเทคโนโลยี 32+3+2 power design และคอมโพเนนท์คุณภาพสูง 60A rated IR3550 PowIRstages® chips จาก IR
“ด้วยภาคจ่ายไฟแบบ 32+3+2 power phase design ซึ่งเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่อยู่ภายใต้เทคโนโลยี Ultra Durable 5 จะช่วยทำให้เมนบอร์ด Z77X-UP7 สามารถเพิ่มอำนาจและขอบเขตในการจัดส่งพลังงานให้กับซีพียูได้อย่างไร้ขีดจำกัด” HiCookie, ผู้เชี่ยวชาญด้านการโอเวอร์คล็อกจาก GIGABYTE ให้ความเห็น “นี่ไม่เพียงแต่จะช่วยให้โอเวอร์คล็อกเกอร์สามารถเร่งประสิทธิภาพในแบบเอ็กซ์ตรีมได้ถึงระดับ 7GHz+ บนชุดประมวลผล Intel® Core™ i7-3770K CPUs ของพวกเขา แต่มันยังหมายถึงการสร้างสถิติใหม่บนโปรแกรมเบนช์มาร์ค และการปฏิวัติแพลตฟอร์มการทำงานที่เย็น และมีเสถียรภาพ สามารถต้านทานต่อสภาวะโหดร้ายระหว่างการทำงานได้ดียิ่งกว่า โดยเฉพาะเมื่อโอเวอร์คล็อกเกอร์มีความต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพระบบของพวกเขาผ่านชุดระบายความร้อนด้วยน้ำ (water cooled system)”

Industry Leading 32+3+2 Phase CPU Power Design

aa

เมนบอร์ด GIGABYTE Z77X-UP7 ได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการสร้างสรรค์ประสิทธิภาพผ่านขุมพลังที่ไร้ขีดจำกัด ด้วยเทคโนโลยี 32+3+2 power phase design (ประกอบไปด้วย 32 CPU phases, 3 Intel® HD Graphics และ 2 VTT phases) นี่คือที่สุดของงานออกแบบล่าสุด ที่ช่วยทำให้เมนบอร์ด Z77X-UP7 สามารถรองรับการทำงานที่หนักหน่วงได้อย่างไร้ที่ติ และด้วยภาคจ่ายไฟแบบ 32 phases นี้ จะช่วยทำให้ระบบมีอุณหภูมิการทำงานที่ต่ำ และสามารถจัดส่งพลังงานให้กับซีพียู หรือชุดประมวลผลได้อย่างมีเสถียรภาพ

Ultra Durable™ 5
a
คุณสมบัติพิเศษที่มีอยู่ในเมนบอร์ด GIGABYTE Ultra Durable™ 5 จะประกอบไปด้วยคอมโพเนนท์คุณภาพสูง 60A rated PowIRstages® จาก IR, ซึ่งด้วยคุณสมบัตินี้จะทำให้เมนบอร์ด Z77X-UP7 สามารถส่งมอบพลังอันน่ามหัศจรรย์ได้สูงถึง 2,000 วัตต์ ในขณะเดียวกันยังมีอุณหภูมิในการทำงานที่ต่ำ, นอกจากนั้นเมนบอร์ด Z77X-UP7 ยังสามารถให้สมรรถนะในการทำงานที่โดดเด่นกว่าเมื่อผู้ใช้งานเลือกใช้ชุดระบายความร้อนแบบน้ำหรือ water cooled system

True All Digital PWM Design
2012-08-29_164754

เมนบอร์ด GIGABYTE Z77X-UP7 มาพร้อมเทคโนโลยีเฉพาะตัวในการออกแบบ All Digital Engine ช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ประโยชน์จาก 3rd generation Intel® Core™ processors ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งด้วยชุดควบคุมที่เป็นระบบดิจิตอล จะส่งผลให้การส่งมอบพลังงานมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบที่ต้องการพลังงานอย่างสูงในการประมวลผล นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบในปัจจุบัน

4-way Graphics
awfawf

เมนบอร์ด GIGABYTE Z77X-UP7 พร้อมส่งมอบกราฟิกแพลตฟอร์มที่ดีเยี่ยมที่สุดให้กับคุณ ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยี 4-way ATI CrossfireX™ และ Nvidia SLI™ ด้วยความเร็วในการทำงานของ PCI Express 3.0 ที่ x8 เมื่อมีการเชื่อมต่อครบทั้ง 4 slots, ซึ่งด้วยคุณสมบัติพิเศษที่มีอยู่บนเมนบอร์ด Z77X-UP7 นี้ ผู้ใช้งานจะได้สัมผัสกับประสบการณ์สามมิติที่เหนือระดับ ให้ความคมชัดสมจริง มีอัตราเฟรมเรตที่ลื่นไหล ต่อเนื่อง ไร้การสะดุด พร้อมรับประสิทธิภาพในการเล่นเกมที่ยอดเยี่ยมมากที่สุด

Native PCIe Gen. 3 x16 Direct Link to CPU
tj

ด้วย PCI Express x16 slot สีดำที่มีการเชื่อมต่อการทำงานเข้ากับซีพียูโดยตรง จะช่วยทำให้การเปิดประสบการณ์ผ่าน PLX chip มีประสิทธิภาพสูง ให้การเชื่อมต่อที่รวดเร็วจนคุณต้องทึ่ง

OC BIOS Featuring 3D BIOS
2012-08-29_162842

ปฏิวัติการออกแบบใหม่ด้วย UEFI BIOS ที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงมาเป็นอย่างดี ช่วยทำให้การควบคุมง่ายกว่าที่เคย สามารถตอบสนองต่อการทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบโต้ตอบที่มีอินเทอร์เฟสสวยงามแบบ 32 บิต สามารถใช้เมาส์เพื่อชี้ตำแหน่งสำหรับปรับแต่งได้ ด้วยโหมดการทำงานสองโหมดใหม่ล่าสุด ได้แก่ GIGABYTE 3D mode ที่มีความพิเศษในการโต้ตอบที่ฉลาด และสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และ Advanced Mode สำหรับโอเวอร์คล็อกเกอร์และผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการระบบการควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ดีที่สุด ซึ่งด้วยคุณสมบัติของ Advanced Mode นี้จะทำให้การควบคุมการปรับจูนในส่วนต่างๆ มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

srnn

BIOS Switcher
ด้วย onboard BIOS Switcher, จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเลือก BIOS chip (Main BIOS หรือ Backup BIOS), สำหรับใช้เป็น BIOS สำหรับการใช้งานปกติ และ BIOS สำหรับการโอเวอร์คล็อกได้, นอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถเรียกคุณสมบัติใหม่ของ BIOS จากการอัพเดตเวอร์ชั่น โดยไม่ต้องสูญเสียการตั้งค่าเดิมของพวกเขาได้อีกด้วย
DualBIOS™ Disable Switch
เมื่อผู้ใช้งานเปิดการทำงานของ onboard DualBIOS™ Disable Switch, ระบบจะทำการปิดการทำงานของฟีเจอร์ DualBIOS™ recovery, เพื่อช่วยประหยัดเวลาการกู้คืน เมื่อการโอเวอร์คล็อกเกิดความล้มเหลว
OC Touch
OC-Touch ช่วยให้โอเวอร์คล็อกเกอร์สามารถปรับแต่งประสิทธิภาพของระบบได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เพียงกดปุ่ม OC - Touch onboard โดยผู้ใช้งานจะสามารถเพิ่มหรือลดอัตรา CPU ratio , การแก้ไขค่า BCLK และเปลี่ยน BCLK stepping ได้ตั้งแต่ 1MHz -0.3MHz ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถทำได้ตลอดเวลาไม่ว่าใน BIOS, DOS หรือ Windows และในเวลาจริง โดยไม่จำเป็นต้องบูตเครื่องใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งความเร็วของ CPU ได้อย่างรวดเร็วเพื่อหาความถี่สูงสุดของ CPU ของพวกเขา อย่างไรนั้นเพื่อให้การปรับแต่งเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น บนเมนบอร์ดยังมีการติดตั้ง Onboard voltage measurement modules สำหรับตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า และ onboard LN2 Mode switch สำหรับปรับ drop CPU frequency ได้ถึงระดับ x16 ระหว่างการโอเวอร์คล็อกมาให้อีก ช่วยลดความล้มเหลวในการโอเวอร์คล็อกเมื่อมีการเปิดโปรแกรม CPU-Z

Thin Fin Cooling Design

2012-08-29_162945

GIGABYTE ได้สร้างสรรค์เทคโนโลยี “Thin Fin” heatsink design ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะให้กับ GIGABYTE ด้วยสีสันอันเร่าร้อน ฟีเจอร์ใหม่นี้จะประกอบไปด้วยครีบโลหะที่มีความบางเป็นพิเศษ และฮีทซิงค์แบบใหม่ที่ได้รับการดีไซน์ให้พื้นผิวสัมผัสแนบสนิทสามารถถ่ายเทความร้อนได้เร็วยิ่งขึ้น

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

MSI Z68A-GD55(B3)




ละเอียด คุณสมบัติทางเทคนิค
CPU 

• Supports Intel® Sandy Bridge processors in LGA1155 package.
Please refer to CPU Support for compatible CPU; the above description is for reference only.


Chipset 

• Intel® Z68 (B3) Chipset

Main Memory

• Supports four unbuffered DIMM of 1.5 Volt DDR3 1066/1333/1600*/2133*(OC) DRAM, 32GB Max
- Supports 1GB/ 2GB/ 4GB/ 8GB DRAM size
- Supports Dual channel mode


Slots
• 2 PCI Express gen2 x16 slots
• 3 PCIE x1 slots
• 2 32-bit v2.3 master PCI bus slots.
- Support 3.3v/5v PCI bus interface.

On-Board SATA 

• SATAII controller integrated in Intel® Z68 (B3) chipset 
- Up to 3Gb/s transfer speed.
- Supports four SATAII ports (SATA3~6) by Z68 (B3) PCH

• SATAIII controller integrated in Intel® Z68 (B3) chipset
- Up to 6Gb/s transfer speed.
- Supports two SATAIII ports (SATA1~2) by Z68 (B3) PCH
- SATA1~6 ports support RAID 0/1/5/10 mode by Intel Z68 (B3) PCH

USB 3.0
• 1 USB 3.0 internal connector by NEC® D720200
• 2 USB 3.0 rear I/O ports by NEC® D720200

Audio 

• Chipset integrated by Realtek® ALC892
- Flexible 8-channel audio with jack sensing
- Compliant with Azalia 1.0 Spec
- Meet Microsoft Vista Premium spec


LAN 

• Supports one PCI Express LAN 10/100/1000 Fast Ethernet by Realtek 8111E.


Internal I/O Connectors
- ATX 24-Pin power connector
- 8-pin ATX 12V power connector 
- CPU x 1 / System x 4 FAN connectors
- CD-in connector
- Front panel audio connector
- Front panel connector
- 1 x chasis intrusion connector
- 3 x USB 2.0 connectors
- 1 x USB 3.0 connectors
- 4 x Serial ATAII connectors
- 4 x Serial ATAIII connectors
- 1 x Clear CMOS jumper
- 1 x SPDIF-out connector
- 1 x TPM module connector
- 1 x DLED3 connector
- 1 x Voltage Check Point
- 1 x Power button
- 1 x Reset button 
- 1 x OC Genie button

Back Panel I/O Ports
- 1 x PS/2 Mouse/Keyboard port
- 1 x Coaxial SPDIF port
- 1 x Optical SPDIF port
- 1 x Clear CMOS button
- 1 x RJ45 LAN Jack
- 4 x USB 2.0 ports
- 2 x USB 3.0 ports
- 1 x Graphics Card port
- 1 x DVI-D port
- 1 x HDMI port
- 1 x 6 in 1 audio jack 
ข้อมูลจาก : http://th.msi.com

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

MainBoard ใหม่จาก 3 ยี่ห้อ


ASUS Maximus V GENE

LGA1155 socket for 3rd generation Intel® Core™ processor-based platform and 2nd Generation Core™ i7/ i5/ i3/ Pentium® / Celeron® Processors
Intel® Z77 Express Chipset
SupremeFX III - Supreme Sound
GameFirst / Intel Gb LAN – Frag Without Lag
mPCIe Combo – Give Your PC A Power Up!
NIVIDIA® SLI™ / AMD CrossFireX™ Technology Support
LucidLogix Virtu MVP - Up to 60% Hybrid Graphics Boost
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.asus.co.th


ASRock X79 Extreme11



7 x PCIe 3.0 x16 slots (2 x PLX PEX 8747 bridges), 
Support 4-Way SLI/CrossFireX in full x16 PCIe 3.0 speed
8 SAS2/SATA3 from LSI™ SAS 2308 PCIe 3.0 Controller
Creative Sound Core3D 7.1 CH, Supports Premium Headset Amplifier, THX TruStudio PRO™
Premium Gold Caps (2.5 x longer life time), 100% Japan-made high-quality Conductive Polymer Capacitors
Supports Dual-Stack MOSFET (DSM)
Supports Digi Power, 24 + 2 Power Phase Design
Supports Quad Channel DDR3 2500+(OC)
Broadcom PCIE Dual LAN with Teaming Function
8 USB 3.0 (4 Front, 4 Back), 10 SATA3 (2 from Intel® X79, 8 from LSI)
Supports XFast 555, OMG, Internet Flash, Easy RAID Installer, Interactive UEFI, UEFI System Browser
Free Bundle : 1 x Front USB 3.0 Panel, 1 x Rear USB 3.0 Bracket, CyberLink MediaEspresso 6.5 Trial, MAGIX Multimedia Suite
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.asrock.com/



GA-7PCSLX

CPU :Dual LGA1356 Sockets
Supports Intel® Xeon® processor E5-2400 product family
Chipset Intel® C602 Chipset

Memory 8 x DIMM slots
Tri channel memory architecture
Up to 256GB RDIMM ECC
Up to 64GB UDIMM ECC
1333/1600 MHz
1066/1333(1.35V) MHz supported

LAN : 2 x Intel® 82574L Gigabit Ethernet Controller support dual GbE LAN ports
1 x Management LAN
Video : Integrated in Aspeed 2300
SAS 2 x mini-SAS connectors (for 8 x SAS 3Gb/s ports)
SATA : 2 x SATA III 6Gb/s ports
4 x SATA II 3Gb/s ports
RAID Function Intel : SW RAID 0/1/5/10
Expansion Slots : 1 x PCIe x16 (@Gen3 x16 bus) slot
1 x PCIe x16 (@Gen3 x8 bus) slot
1 x PCIe x8 (@Gen3 x4 bus) slot
1 x PCI 32/33MHz slot
Internal I/O Connectors : 4 x USB 2.0 headers
Back Panel Connectors : 4 x USB 2.0 ports
1 x VGA port
1 x COM port
3 x RJ45
Server Management : ASPEED 2300
IPMI 2.0, iKVM
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://th.gigabyte.com



ปัญหาแปลกๆ หลังเปลี่ยนแบตฯเมนบอร์ด


ถาม: 
หลังจากผมพบปัญหาว่า คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ชอบเปลี่ยนปีกลับไปเป็น 1998 เลยลองเปลี่ยนแบตฯ นาฬิกาบนเมนบอร์ด ซึ่งอาการดังกล่าวก็หายเป็นปลิดทิ้ง แสดงว่า ผมแก้ปัญหาถูกจุด แต่หลังจากนั้นผมกลับพบปัญหาใหม่ที่น่าแปลกใจ นั่นคือ ทุกครั้งหลังชัตดาวน์เครื่องได้ไม่กี่วินาที คอมพิวเตอร์จะบู๊ตเครื่องขึ้นมาใหม่ด้วยตัวมันเอง ไม้ตายสำหรับการแก้ปัญหาของผมก็คือ ดึงปลั๊กซะ เพื่อไม่ให้มันรีบู๊ตตัวเองได้อีก อาการที่ว่านี้ มันเริ่มเป็นตั้งแต่ผมเปลี่ยนแบตเตอรี่ ซึ่งไม่ทราบจริงๆ ว่า ผมทำอะไรผิดตรงไหน คอมพิวเตอร์จึงมีอาการแปลกๆ ดังกล่าว ช่วยแนะนำด้วยครับ กลุ้มใจมากครับ

ตอบ: 
ส่วนใหญ่แล้วแบตเตอรี่แบ็กอัพไม่ได้ทำหน้าที่แค่ช่วยจ่ายไฟเลี้ยงวงจรนาฬิกาบนเมนบอร์ดเท่านั้น แต่ยังรับผิดชอบในส่วนของการจ่ายไฟให้กับส่วนที่เก็บรักษาค่าโปรแกรมต่างๆ ที่ได้ตั้งค่าไว้ใน BIOS (Basic Input Output System) ที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ด้วย




แบตเตอรี่ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ช่วยเลี้ยงวงจรนาฬิกาบนเมนบอร์ดเท่านั้น แต่ยังรับผิดชอบในส่วนของการจ่ายไฟให้กับส่วนที่เก็บรักษาค่าโปรแกรมต่างๆ ที่ตั้งไว้ใน BIOS ด้วย
จากอาการที่เล่ามา ผมเข้าใจว่า น่าจะเกิดจากการที่ค่าปรับแต่งการทำงานของ BIOS ถูกเปลี่ยนแปลงไป หรือถูกรีเซตกลับไปที่เริ่มต้นของเงื่อนไขการทำงานของมัน โดยอาจจะมีหนึ่ง หรือมากกว่านั้นที่เป็นค่ากำหนดให้คอมพิวเตอร์รีบู๊ต เช่น wake on LAN กำหนดให้คอมพ์ทำงานเมื่อมีสัญญาณการเชื่อมต่อของ LAN หรือ wake on ring กำหนดให้คอมพ์เริ่มทำงานอีกครั้งเมื่อมีสายโทรศัพท์ (ที่ต่อกับโมเด็มของเครื่อง) เรียกเข้ามา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปกติ BIOS จะเป็นหน่วยความจำชนิดไม่ต้องการไฟเลี้ยงตลอดเวลา และจะยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติโดยไม่ต้องมีแบตเตอรี่แบ็คอัพได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ถ้าแบตเตอรี่ของคุณไม่ขาดใจทันที เช่น เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการช๊อตของหน้าสัมผัสแบตทั้งสอง สำหรับกรณีของคุณน่าจะแก้ไขได้ด้วยการเปิดโปรแกรมใน BIOS และยกเลิก หรือปิดบางฟังก์ชันที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะฟังก์ชันของ BIOS ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขของการรีบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับปุ่มบนคีย์บอร์ดที่ใช้สำหรับการเปิดโปรแกรม BIOS (หรือโปรแกรม setup ของ BIOS) น่าจะมีการระบุไว้ในคู่มือเมนบอร์ด หรือบางทีอาจจะแสดงบนหน้าจอตอนเปิดเครื่อง เช่น “To enter Setup press F1” เป็นต้น กรณีของคุณ ถ้าให้เดา เซคชั่นที่น่าจะเป็นสาเหตุของอาการปิดสวิตช์แล้วเครื่องรีบู๊ตเองน่าจะเป็น Power Management section ครับ ลองเข้าไปตรวจสอบ และปรับแต่งแก้ไขดูนะครับ ขอให้โชคดีครับ

credit : http://www.arip.co.th



วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ส่วนประกอบของ mainboard







AGP Slot (Accelerator Graphic Port)

          เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X และล่าสุด 8X ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น









ATX Power Connector

          ขั้วต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATXโดยที่พาวเวอร์ซัพพลาย จะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟ หลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย






BIOS (Basic Input Output )

          เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดิสก์ไดร์ฟ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส จะเริ่มตรวจสอบการทำงานของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่น ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปนี้เป็นไบออสของ AMI ซึ่งไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHEONIX, COMPAQ, IBM ซึ่งจะมี ความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ด ที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด






CMOS Battery

          แบตเตอรี่เบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหากแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามาร ตรวจสอบ ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป




CPU Socket

          ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือPentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียูAMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง




Floppy Disk Connector

          คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟเท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นตัวย่อว่า FDD พิมพ์กำกับอยู่ ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือเข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN 1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็คเตอร์ จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง PIN 1


IDE Connector

          เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดร์ฟอ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดร์ฟ โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์ จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้น ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์ สองตัวกับไดร์ฟ CD-RW และไดร์ฟ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ FDD Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ 39พิน (ในรูปคือที่เห็นเป็นสีแดงกับสีขาว)



PCI Slots (Peripherals component interconnect)

          สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ดSCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์ แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ Plug and Play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า PCI Busซึ่งก็หมายถึง เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต


RAM Sockets

          เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์ค อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม



System Panel Connector

          สิ่งที่คุณจะสังเกตุเห็นก็คือกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม สำหรับ System Panel นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์ ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สายไฟปุ่มรีเซ็ท (Reset Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิทช์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด (Keyboard Lock) โดยสวิทช์หรือ หลายไฟเหล่านี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ System Panel สวิทช์เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก็จะไม่ติด





USB Port (Universal Serial Bus)

          พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดร์ฟ ซิพไดร์ฟ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อคุณต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ต ยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ

Parallel Port

          พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรลจะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป

Serial Port

          พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็ม เม้าส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่

Video Port

          พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้ จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA Onboard)

IEEE1394 Port

          เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า FireWire (บริษัทโซนี่เรียกว่า I-Link) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก็มีในเมนบอร์ดบางรุ่น พอร์ตนี้จะใช้สำหรับต่อพ่วงกับ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Firewire โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับ กล้องดิจิตอลวิดีโอ เนื่องจากการที่ สามารถควบคุมการทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง

Line in / Line out / Microphone Jack

          สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ซาวน์ดการ์ดจะถูกรวมเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย ที่เรียกกันว่า Sound on Board จุดสังเกตก็คือที่เมนบอร์ดจะมีช่องสำหรับต่อไมโครโฟน ลำโพง แล้วก็เครื่องเล่นเทป ทำให้ไม่ต้องซื้อซาวน์ดการ์ดเพิ่ม อย่างไรก็ดีถ้าคุณต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า หรือต้องการใช้เครื่องคอมกับการทำดนตรี หรืองานตัดต่อวิดีโอ ซาวน์การ์ดแบบติดตั้งเพิ่มก็ยังจำเป็น  


ข้อมูลจาก http://tumcomza.exteen.com/mainboard 

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เพิ่มคำอธิบายภาพ
Asus P8Z77-V DELUXE

mainboard แนะนำ ASUS P8Z77-V DELUXE

                  สวัสดีครับ.... พบเจอกันอีกแล้วนะครับสำหรับบททดสอบเกี่ยวกับเมนบอร์ดจากตระกูล Intel Z77 ซึ่งวันนี้นั้นเราจะมีเมนบอร์ดในซีรีย์ระดับกลางๆจากตระกูลดังกล่าวนี้มาทดสอบให้ได้รับชมกันสำหรับเมนบอร์ดจากทาง ASUS ในโมเดล P8Z77-V DELUXE ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่หลายๆท่านนั้นเฝ้ามองกันอยุ่ ด้วยที่ว่าเรื่องของราคาค่างวดที่สมเหตุสมผลต่อการใช้งาน ที่มันเองก็สามารถรองรับหรือตอบสนองต่อการใช้งานได้ในทุกๆกลุ่มไม่แพ้เมนบอร์ดในระดับ Hi-End จากตระกูล ROG แต่ประการใด สิ่งที่อาจจะขาดหายไปบ้างก็เพียงแค่เรื่องของลูกเล่นหรือฟังก์ชันพิเศษบางอย่างหรืออาจจะรวมไปถึง เรื่องของสีสันและหน้าตาที่อาจจะไม่ดุดันเท่า แต่ทว่าในเรื่องของหน้าตานั้นมันเป็นเรื่องที่ตัดสินกันยากอยุ่ เพราะว่าคนเรานั้นร้อยคนร้อยความคิด ล้านคนก็ล้านความคิด มีความชอบพอที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ทุกๆท่านมักจะคำนึงถึงในส่วนแรกก็เห็นจะเป็นเรื่องนี้แหละ แต่นั้นก็ย่อมที่จะต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย แต่สำหรับบางท่านที่อาจจะไม่เน้นถึงเรื่องของความสวยงามมากนัก ก็จะหันมามองต่อในประเด็นต่อไปก็คือเรื่องของความคุ้มค่าแทน และคำตอบของเรื่องนี้ก้คงจะอยุ่กับเมนบอร์ดในซีรีย์ดังกล่าวนี้ ดังนั้นวันนี้เราลองมาติดตามรับชมกันดูนะครับว่า เมนบอร์ดจากตระกูล P ของทาง ASUS ที่เวลานี้เดินทางมาถึงเจเนเรชันที่ 8 แล้วในยุคสมัยของซีพียูตระกูล Ivy Bridge นั้นมันจะมีความสามารถที่น่าสนใจขนาดไหน จะทำได้ดีดังที่เคยเป็นมาหรือไม่ และจะยังคุ้มค่าน่าจับจองหรือเปล่านั้น ไปลุยกันเลยนะครับ...

Package & Bundled

ลองมาดูกันที่ตัวแพ็กเกจสักเล็กน้อยเช่นเคยนะครับ กับความเป็นเมนบอร์ดในตระกูล P หรือตระกูล Performance ของทาง ASUS นั้นมาถึงวันนี้ทาง ASUS ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมของตัวกล่องแต่อย่างใด ยังคงเลือกใช้หน้าตาและลวดลายเช่นเดียวกับในตระกูล P8 ก่อนหน้านี้ที่มาพร้อมกับชิบเซตในรหัส P67 หรือ Z68 นั่นก็อาจจะเป็นเพราะว่ามันยังเป็นรุ่นคาบเกี่ยวอยุ่นั่นเอง ส่วนตัวอุปกรณ์บันเดิลนั้นเอาเป็นไม่ต้องอธิบายมากแล้วกันนะครับ รับชมเอาจากภาพดูล่ะกันว่ามีอะไรมาให้บ้าง แต่ขอพูดถึงอุปกรณ์เสริมชิ้นหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาล่ะกันสำหรับ WiFi/Bluetooth card เล็กๆ ซึ่งในรายละเอียดของมันนั้นเดี๋ยวเราค่อยมาขยายความอีกครั้งหนึ่ง


Board Details

ทางด้านของตัวเมนบอร์ดเองก็เช่นเดียวกันที่จะว่าไปแล้วในเรื่องของสีสันที่ใช้นั้นก็คงจะเป็นโทนสีเดิมๆ ที่เราพบเห็นได้จากเมนบอร์ดในตระกูล P8P67 ก่อนหน้านี้กับการเลือกใช้โทนน้ำเงินฟ้าตัดกับ PCB สีดำสนิด ส่วนจุดที่มองดูว่าเปลี่ยนแปลงเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็น Z77 นั้นก็เห็นจะเป็นรูปทรงของชุดระบายความร้อนบนตัวเมนบอร์ดนั่นล่ะครับ และสำหรับเรื่องของขนาดตัวและเลย์เอาท์นั้นก็ยังคงเป็นมาตรฐานในแพลทฟอร์ม ATX ทุกประการ


สำหรับตัวซีพียุที่รองรับผมว่าไม่บอกก็น่าจะทราบกันถ้วนหน้าอยุ่แล้ว แต่ก็บอกเผื่อไว้สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบละกันนะครับว่า ซีพียุที่สามารถใช้งานได้ก็จะเป้นซีพียุในทุกๆโมเดลที่มาภายใต้ซ๊อคเก็ต LGA1155 ไม่ว่าจะเป็น Ivy Bridge หรือ Sandy Bridge โดยในส่วนของชุดภาคจ่ายไฟก็น่าจะจุใจสำหรับคนที่ชอบตัวเลขเบยอะๆเพราะทาง ASUS ได้ออกแบบภาคจ่ายไฟซีพียุมาให้ใหญ่โตถึง 20 เฟสโดยจะแบ่งเป็นสำหรับซีพียู Core มากถึง 16 เฟสด้วยกันและอีก 4 เฟสก็จะเป็นสำหรับ iGFX ซึ่งชุดภาคจ่ายไฟนั้นก็ได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมอีกครั้งจากเทคโนโลยี DIGI+ ที่คราวนี้จะมีคำว่า SMART นำหน้าเพิ่มเติมหรือเป้นยุคที่สามของเทคโนโลยี Dual Intelligent Processors นั่นเอง


เมโมรีก็เช่นเดียวกันนะครับ ท่วาสำหรับใครที่ติดตามบททดสอบของเมนบอร์ดในตระกูล Z77 มาก้พอจะทราบบ้างแล้วว่า หากเป็นการใช้งานกับซีพียูตระกูล Ivy Bridge เราก็จะพบเห็นสเต็ปการปรับแต่งในแบบของ DDR3-1066/1333/1600/1800/1866/2133/2200/2400/2600/ 2800MHz ซึ่งเป็นสเต็ปมาตรฐานสำหรับ Ivy Bridge และหากเป็น Sandy Bridge ก็จะรองรับความเร็วสูงสุดเพียง 2133MHz โดยเมโมรีที่ใช้ก็จะเป็นรูปแบบมาตรฐาน Dual Channel DDR3 รองรับความจุสุงสุด 32GB

ทางด้านของ Expansion slot นั้นสำหรับผุ้ที่ยังต้องการสล๊อต PCI 32bit ไว้ใช้งานก็คงต้องแสดงความเสียใจไว้เลย เพราะว่าทาง ASUS เลือกที่จะไม่ติดตั้งมาให้แม้แต่สล๊อตเดียว โดยมันจะประกอบไปด้วย Pci-e x16 3.0 จำนวนสองสล๊อตและ Pci-e x16 2.0 หนึ่งสล๊อต(สีดำ) ส่วนความเร็วในการเชื่อมต่อนั้นก็เป็นไปตามมาตรฐานของ Ivy Bridge คือ 8x + 8x ในกรณี SLI หรือ Crossfire และหากว่าใครที่จะใช้งาน Tri Crossfire จากการ์ดจำนวนสามใบนั้น Pci-e x16 2.0 สล๊อตสุดท้ายจะมีแบนด์วิดท์สุงสุดเพียง 4x เท่านั้น ส่วนสล๊อตที่เหลือก็จะเป็น Pci-e x1 2.0 จำนวนสี่สล๊อตด้วยกัน


จากข้างบนที่อาจจะเห็นผ่านๆตามาบ้างแล้วว่าเมนบอร์ดตัวนี้จะมีฮีตซิงก์บนตัวเมนบอร์ดด้วยกันสามจุดคือ บริเวณชุดภาคจ่ายไฟซีพียู บริเวณกึ่งกลางบอร์ด และสำหรับชิบ PCH โดยในบริเวณกึ่งกลางบอร์ดนั้น หากจะว่าไปแล้วก็เป็นการออกแบบมาเพื่อความสวยงามส่วนหนึ่ง เพราะพื้นที่ในบริเวณนั้นไม่ได้มีการติดตั้งชิบเซตใดๆมาด้วยแต่อย่างไร แต่มันก็ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับชุดภาคจ่ายไฟของ IOH ถัดมากับฮีตซิงก์ PCH Z77 นั้นก็มีการออกแบบมาให้มีขนาดใหญ่โตพอสมควร โดยการเลือกใช้ลวดลายในลักษณะของ VU Equalizer ทั้งตัวฮีตซิงก์เองและลวดลายด้านบน และกับการควบคุมพอร์ท SATA นั้นก็เรียกว่าจัดมาให้ครบทั้ง 6 พอร์ทของ Z77 ที่ไม่แบ่งไปไหนแต่ในบริเวณนี้เราจะพบเห้นว่ามี SATA ทั้งหมด 8 พอร์ทด้วยกันโดยสองพอร์ทนั้นจะควบคุมโดย Marvell PCIe 9128 (พอร์ทสีน้ำเงินเข้ม) สำหรับ SATA 3.0 ส่วนพอร์ทสีขาวนั้นก็จะเป็น SATA 3.0 จาก Z77 และสีฟ้าที่เหลือก็เป็น SATA 2.0 จาก Z77 โดยรองรับการเชื่อมต่อ RAID ได้ในโหมดมาตรฐาน RAID 0, 1, 5 และ 10



ชิบจากทาง PLX ที่ปรากฏนั้นไม่ได้เป็นชิบที่จะเข้ามาช่วยเพิ่ม Bandwidth ให้กับสล๊อต Pci-e x16 แต่อย่างใด หากแต่มันจะเป็นชิบ Pci-e bridge สำหรับเข้ามาเพิ่มช่องทางให้กับ SATA port และ USB 3.0 เพราะด้วยที่ทาง ASUS ได้มีการติดตั้ง USB 3.0 และ SATA Port มาให้ได้ใช้งานเป้นจำนวนมาก จนทำให้แบนด์วิทด์ที่ Z77 มีอยุ่ไม่เพียงพอนั่นเอง

WiFi / Bluetooth Card

จากอุปกรณ์บันเดิลทางด้านบนที่เราได้มีการกล่าวถึง WiFi/Bluetooth Card ตัวเล็กๆที่แถมมาให้ด้วย ซึ่งมันจะมีพื้นที่สำหรับติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณ Back I/O Panel ซึ่งตัวการ์ดนั้นก็จะรองรับการใช้งานของ WiFi ในมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n ครบครันตามยุคสมัยพร้อมทั้งสามารถเป้นได้ทั้งตัวรับและตัวปล่อยสัญญาณในเวลาเดียวกัน ส่วนทางด้านของ Bluetooth นั้นจะรองรับการเชื่อมต่อในมาตรฐาน v4.0/3.0+HS

3rd Party Chip

ชิบยอดนิยมอย่าง ASMedia ในเวลานี้สำหรับ USB 3.0 ซึ่งทาง ASUS นั้นได้เลือกติดตั้งมาสองรหัสสองหน้าที่ด้วยกันโดย ASM1042 จำนวนสองตัวสำหรับพอร์ท USB 3.0 ในบริเวณ Back I/O Panel จำนวนสี่พอร์ทส่วนชิบ ASM1051 นั้นจะเป้นพอร์ทเชื่อมต่อหรือแปลงสัญญาณการเชื่อมต่อของ USB2.0/3.0 ให้รองรับกับ Serial ATA เพื่อช่วยให้รองรับความเร็วในการรับส่งข้อมุลที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งนี่ก้คือหัวใจของฟังก์ชัน USB 3.0 Boot จากทาง ASUS นั่นเอง

Realtek (ซ้านมือ) RT8111F และ Intel 82579V ที่รับหน้าที่สำหรับระบบเน็ตเวิร์คที่มีมาให้ใช้งานจำนวนสองพอร์ทด้วยกัน รองรับความเร็วการเชื่อมต่อในระดับ Gigabit Ethernet 10/100/1000

Realtek ALC898 รหัสยอดนิยมตัวหนึ่งสำหรับระบบเสียงในแบบ 8Channel High Definition

Back I/O Panel

Back I/O Panel นั้นซึ่งมองดูแล้วค่อนข้างสะอาดตาไม่น้อย และที่สำคัญ(ส่วนตัวอีกเช่นเคย)กับการที่ทาง ASUS ได้ตัดพอร์ท PS/2 ออกไปจนหมด ไม่มีมาให้ได้ใช้งานแม้แต่พอร์ทเดียว โดยหลักๆนั้นเราก็จะพบกับพอร์ท USB อันประกอบไปด้วย USB 2.0 จำนวน 4 พอร์ท, USB 3.0 จำนวน 6 พอร์ท, 2x eSATA 3.0, 2x RJ45, 6x Analog Audio Jack, 1x Optical S/PDIF และในส่วนของพอร์ทแสดงผลนั้นจะมีพอร์ทมาให้ได้เลือกใช้งานเพียงสองรูปแบบเท่านั้น แต่ก็น่าจะเป็นที่เพียงพอสำหรับในปัจจุบันนี้โดยจะประกอบด้วย HDMI 1.4a และ Display Port แต่ทว่าหากเรามีการเสียบการ์ด WiFi Go เข้ามาด้วยก็จะต้องมีสายอากาศของ WiFi เพิ่มเข้ามาอีกสองเสา และสุดท้ายกับสวิทช์ Recovery Bios ที่ทำหน้าที่ได้ทั้งสำหรับ Clear CMOS และ Bios Recovery ที่จะสามารถแฟลต bios ได้โดยที่ไม่ต้องเปิดเครื่องหรือมี CPU
credit : http://www.overclockzone.com http://www.asus.com/Motherboards/Intel_Socket_1155/P8Z77V_DELUXE/#specifications