เพิ่มคำอธิบายภาพ |
mainboard แนะนำ ASUS P8Z77-V DELUXE
สวัสดีครับ.... พบเจอกันอีกแล้วนะครับสำหรับบททดสอบเกี่ยวกับเมนบอร์ดจากตระกูล Intel Z77 ซึ่งวันนี้นั้นเราจะมีเมนบอร์ดในซีรีย์ระดับกลางๆจากตระกูลดังกล่าวนี้มาทดสอบให้ได้รับชมกันสำหรับเมนบอร์ดจากทาง ASUS ในโมเดล P8Z77-V DELUXE ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่หลายๆท่านนั้นเฝ้ามองกันอยุ่ ด้วยที่ว่าเรื่องของราคาค่างวดที่สมเหตุสมผลต่อการใช้งาน ที่มันเองก็สามารถรองรับหรือตอบสนองต่อการใช้งานได้ในทุกๆกลุ่มไม่แพ้เมนบอร์ดในระดับ Hi-End จากตระกูล ROG แต่ประการใด สิ่งที่อาจจะขาดหายไปบ้างก็เพียงแค่เรื่องของลูกเล่นหรือฟังก์ชันพิเศษบางอย่างหรืออาจจะรวมไปถึง เรื่องของสีสันและหน้าตาที่อาจจะไม่ดุดันเท่า แต่ทว่าในเรื่องของหน้าตานั้นมันเป็นเรื่องที่ตัดสินกันยากอยุ่ เพราะว่าคนเรานั้นร้อยคนร้อยความคิด ล้านคนก็ล้านความคิด มีความชอบพอที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ทุกๆท่านมักจะคำนึงถึงในส่วนแรกก็เห็นจะเป็นเรื่องนี้แหละ แต่นั้นก็ย่อมที่จะต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย แต่สำหรับบางท่านที่อาจจะไม่เน้นถึงเรื่องของความสวยงามมากนัก ก็จะหันมามองต่อในประเด็นต่อไปก็คือเรื่องของความคุ้มค่าแทน และคำตอบของเรื่องนี้ก้คงจะอยุ่กับเมนบอร์ดในซีรีย์ดังกล่าวนี้ ดังนั้นวันนี้เราลองมาติดตามรับชมกันดูนะครับว่า เมนบอร์ดจากตระกูล P ของทาง ASUS ที่เวลานี้เดินทางมาถึงเจเนเรชันที่ 8 แล้วในยุคสมัยของซีพียูตระกูล Ivy Bridge นั้นมันจะมีความสามารถที่น่าสนใจขนาดไหน จะทำได้ดีดังที่เคยเป็นมาหรือไม่ และจะยังคุ้มค่าน่าจับจองหรือเปล่านั้น ไปลุยกันเลยนะครับ...
Package & Bundled
ลองมาดูกันที่ตัวแพ็กเกจสักเล็กน้อยเช่นเคยนะครับ กับความเป็นเมนบอร์ดในตระกูล P หรือตระกูล Performance ของทาง ASUS นั้นมาถึงวันนี้ทาง ASUS ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมของตัวกล่องแต่อย่างใด ยังคงเลือกใช้หน้าตาและลวดลายเช่นเดียวกับในตระกูล P8 ก่อนหน้านี้ที่มาพร้อมกับชิบเซตในรหัส P67 หรือ Z68 นั่นก็อาจจะเป็นเพราะว่ามันยังเป็นรุ่นคาบเกี่ยวอยุ่นั่นเอง ส่วนตัวอุปกรณ์บันเดิลนั้นเอาเป็นไม่ต้องอธิบายมากแล้วกันนะครับ รับชมเอาจากภาพดูล่ะกันว่ามีอะไรมาให้บ้าง แต่ขอพูดถึงอุปกรณ์เสริมชิ้นหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาล่ะกันสำหรับ WiFi/Bluetooth card เล็กๆ ซึ่งในรายละเอียดของมันนั้นเดี๋ยวเราค่อยมาขยายความอีกครั้งหนึ่ง
Board Details
ทางด้านของตัวเมนบอร์ดเองก็เช่นเดียวกันที่จะว่าไปแล้วในเรื่องของสีสันที่ใช้นั้นก็คงจะเป็นโทนสีเดิมๆ ที่เราพบเห็นได้จากเมนบอร์ดในตระกูล P8P67 ก่อนหน้านี้กับการเลือกใช้โทนน้ำเงินฟ้าตัดกับ PCB สีดำสนิด ส่วนจุดที่มองดูว่าเปลี่ยนแปลงเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็น Z77 นั้นก็เห็นจะเป็นรูปทรงของชุดระบายความร้อนบนตัวเมนบอร์ดนั่นล่ะครับ และสำหรับเรื่องของขนาดตัวและเลย์เอาท์นั้นก็ยังคงเป็นมาตรฐานในแพลทฟอร์ม ATX ทุกประการ
สำหรับตัวซีพียุที่รองรับผมว่าไม่บอกก็น่าจะทราบกันถ้วนหน้าอยุ่แล้ว แต่ก็บอกเผื่อไว้สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบละกันนะครับว่า ซีพียุที่สามารถใช้งานได้ก็จะเป้นซีพียุในทุกๆโมเดลที่มาภายใต้ซ๊อคเก็ต LGA1155 ไม่ว่าจะเป็น Ivy Bridge หรือ Sandy Bridge โดยในส่วนของชุดภาคจ่ายไฟก็น่าจะจุใจสำหรับคนที่ชอบตัวเลขเบยอะๆเพราะทาง ASUS ได้ออกแบบภาคจ่ายไฟซีพียุมาให้ใหญ่โตถึง 20 เฟสโดยจะแบ่งเป็นสำหรับซีพียู Core มากถึง 16 เฟสด้วยกันและอีก 4 เฟสก็จะเป็นสำหรับ iGFX ซึ่งชุดภาคจ่ายไฟนั้นก็ได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมอีกครั้งจากเทคโนโลยี DIGI+ ที่คราวนี้จะมีคำว่า SMART นำหน้าเพิ่มเติมหรือเป้นยุคที่สามของเทคโนโลยี Dual Intelligent Processors นั่นเอง
เมโมรีก็เช่นเดียวกันนะครับ ท่วาสำหรับใครที่ติดตามบททดสอบของเมนบอร์ดในตระกูล Z77 มาก้พอจะทราบบ้างแล้วว่า หากเป็นการใช้งานกับซีพียูตระกูล Ivy Bridge เราก็จะพบเห็นสเต็ปการปรับแต่งในแบบของ DDR3-1066/1333/1600/1800/1866/2133/2200/2400/2600/ 2800MHz ซึ่งเป็นสเต็ปมาตรฐานสำหรับ Ivy Bridge และหากเป็น Sandy Bridge ก็จะรองรับความเร็วสูงสุดเพียง 2133MHz โดยเมโมรีที่ใช้ก็จะเป็นรูปแบบมาตรฐาน Dual Channel DDR3 รองรับความจุสุงสุด 32GB
ทางด้านของ Expansion slot นั้นสำหรับผุ้ที่ยังต้องการสล๊อต PCI 32bit ไว้ใช้งานก็คงต้องแสดงความเสียใจไว้เลย เพราะว่าทาง ASUS เลือกที่จะไม่ติดตั้งมาให้แม้แต่สล๊อตเดียว โดยมันจะประกอบไปด้วย Pci-e x16 3.0 จำนวนสองสล๊อตและ Pci-e x16 2.0 หนึ่งสล๊อต(สีดำ) ส่วนความเร็วในการเชื่อมต่อนั้นก็เป็นไปตามมาตรฐานของ Ivy Bridge คือ 8x + 8x ในกรณี SLI หรือ Crossfire และหากว่าใครที่จะใช้งาน Tri Crossfire จากการ์ดจำนวนสามใบนั้น Pci-e x16 2.0 สล๊อตสุดท้ายจะมีแบนด์วิดท์สุงสุดเพียง 4x เท่านั้น ส่วนสล๊อตที่เหลือก็จะเป็น Pci-e x1 2.0 จำนวนสี่สล๊อตด้วยกัน
จากข้างบนที่อาจจะเห็นผ่านๆตามาบ้างแล้วว่าเมนบอร์ดตัวนี้จะมีฮีตซิงก์บนตัวเมนบอร์ดด้วยกันสามจุดคือ บริเวณชุดภาคจ่ายไฟซีพียู บริเวณกึ่งกลางบอร์ด และสำหรับชิบ PCH โดยในบริเวณกึ่งกลางบอร์ดนั้น หากจะว่าไปแล้วก็เป็นการออกแบบมาเพื่อความสวยงามส่วนหนึ่ง เพราะพื้นที่ในบริเวณนั้นไม่ได้มีการติดตั้งชิบเซตใดๆมาด้วยแต่อย่างไร แต่มันก็ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับชุดภาคจ่ายไฟของ IOH ถัดมากับฮีตซิงก์ PCH Z77 นั้นก็มีการออกแบบมาให้มีขนาดใหญ่โตพอสมควร โดยการเลือกใช้ลวดลายในลักษณะของ VU Equalizer ทั้งตัวฮีตซิงก์เองและลวดลายด้านบน และกับการควบคุมพอร์ท SATA นั้นก็เรียกว่าจัดมาให้ครบทั้ง 6 พอร์ทของ Z77 ที่ไม่แบ่งไปไหนแต่ในบริเวณนี้เราจะพบเห้นว่ามี SATA ทั้งหมด 8 พอร์ทด้วยกันโดยสองพอร์ทนั้นจะควบคุมโดย Marvell PCIe 9128 (พอร์ทสีน้ำเงินเข้ม) สำหรับ SATA 3.0 ส่วนพอร์ทสีขาวนั้นก็จะเป็น SATA 3.0 จาก Z77 และสีฟ้าที่เหลือก็เป็น SATA 2.0 จาก Z77 โดยรองรับการเชื่อมต่อ RAID ได้ในโหมดมาตรฐาน RAID 0, 1, 5 และ 10
ชิบจากทาง PLX ที่ปรากฏนั้นไม่ได้เป็นชิบที่จะเข้ามาช่วยเพิ่ม Bandwidth ให้กับสล๊อต Pci-e x16 แต่อย่างใด หากแต่มันจะเป็นชิบ Pci-e bridge สำหรับเข้ามาเพิ่มช่องทางให้กับ SATA port และ USB 3.0 เพราะด้วยที่ทาง ASUS ได้มีการติดตั้ง USB 3.0 และ SATA Port มาให้ได้ใช้งานเป้นจำนวนมาก จนทำให้แบนด์วิทด์ที่ Z77 มีอยุ่ไม่เพียงพอนั่นเอง
WiFi / Bluetooth Card
จากอุปกรณ์บันเดิลทางด้านบนที่เราได้มีการกล่าวถึง WiFi/Bluetooth Card ตัวเล็กๆที่แถมมาให้ด้วย ซึ่งมันจะมีพื้นที่สำหรับติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณ Back I/O Panel ซึ่งตัวการ์ดนั้นก็จะรองรับการใช้งานของ WiFi ในมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n ครบครันตามยุคสมัยพร้อมทั้งสามารถเป้นได้ทั้งตัวรับและตัวปล่อยสัญญาณในเวลาเดียวกัน ส่วนทางด้านของ Bluetooth นั้นจะรองรับการเชื่อมต่อในมาตรฐาน v4.0/3.0+HS
3rd Party Chip
ชิบยอดนิยมอย่าง ASMedia ในเวลานี้สำหรับ USB 3.0 ซึ่งทาง ASUS นั้นได้เลือกติดตั้งมาสองรหัสสองหน้าที่ด้วยกันโดย ASM1042 จำนวนสองตัวสำหรับพอร์ท USB 3.0 ในบริเวณ Back I/O Panel จำนวนสี่พอร์ทส่วนชิบ ASM1051 นั้นจะเป้นพอร์ทเชื่อมต่อหรือแปลงสัญญาณการเชื่อมต่อของ USB2.0/3.0 ให้รองรับกับ Serial ATA เพื่อช่วยให้รองรับความเร็วในการรับส่งข้อมุลที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งนี่ก้คือหัวใจของฟังก์ชัน USB 3.0 Boot จากทาง ASUS นั่นเอง
Realtek (ซ้านมือ) RT8111F และ Intel 82579V ที่รับหน้าที่สำหรับระบบเน็ตเวิร์คที่มีมาให้ใช้งานจำนวนสองพอร์ทด้วยกัน รองรับความเร็วการเชื่อมต่อในระดับ Gigabit Ethernet 10/100/1000
Realtek ALC898 รหัสยอดนิยมตัวหนึ่งสำหรับระบบเสียงในแบบ 8Channel High Definition
Back I/O Panel
Back I/O Panel นั้นซึ่งมองดูแล้วค่อนข้างสะอาดตาไม่น้อย และที่สำคัญ(ส่วนตัวอีกเช่นเคย)กับการที่ทาง ASUS ได้ตัดพอร์ท PS/2 ออกไปจนหมด ไม่มีมาให้ได้ใช้งานแม้แต่พอร์ทเดียว โดยหลักๆนั้นเราก็จะพบกับพอร์ท USB อันประกอบไปด้วย USB 2.0 จำนวน 4 พอร์ท, USB 3.0 จำนวน 6 พอร์ท, 2x eSATA 3.0, 2x RJ45, 6x Analog Audio Jack, 1x Optical S/PDIF และในส่วนของพอร์ทแสดงผลนั้นจะมีพอร์ทมาให้ได้เลือกใช้งานเพียงสองรูปแบบเท่านั้น แต่ก็น่าจะเป็นที่เพียงพอสำหรับในปัจจุบันนี้โดยจะประกอบด้วย HDMI 1.4a และ Display Port แต่ทว่าหากเรามีการเสียบการ์ด WiFi Go เข้ามาด้วยก็จะต้องมีสายอากาศของ WiFi เพิ่มเข้ามาอีกสองเสา และสุดท้ายกับสวิทช์ Recovery Bios ที่ทำหน้าที่ได้ทั้งสำหรับ Clear CMOS และ Bios Recovery ที่จะสามารถแฟลต bios ได้โดยที่ไม่ต้องเปิดเครื่องหรือมี CPU
credit : http://www.overclockzone.com http://www.asus.com/Motherboards/Intel_Socket_1155/P8Z77V_DELUXE/#specifications